Menu

ทึ่ง! นักวิทย์ชาวออสซี่ ได้พัฒนาเทคโนโลยีเด็กหลอดแก้ว ไปอีกขั้น!
เพิ่มอัตราการคลอดมีชีพ (Live Birth Rate) 12.2%

ทึ่ง! นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ได้พัฒนาเทคโนโลยีไปอีกขั้น
ในกระบวนการรักษาภาวะเจริญพันธุ์ หรือการทำเด็กหลอดแก้ว(IVF)

ช่วยเพิ่มอัตราการคลอดมีชีพ (Live Birth Rate) 12.2% อีกหนึ่งความหวังสำหรับผู้ที่อยากจะตั้งครรภ์

วันที่ 11 มิถุนายน 2564  เวลา 22.00 นครซิดนีย์: นักวิทยาศาสตร์ผู้บุกเบิกทางด้านการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน ได้พัฒนาตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนร่วมกับสารละลายที่ใช้เลี้ยงตัวอ่อนเวอร์ชั่นใหม่ ที่ช่วยเพิ่มอัตราการคลอดมีชีพ (Live Birth Rate) สูงขึ้นกว่าปกติ 12.2% สำหรับผู้มีภาวะมีบุตรยาก การพัฒนาได้ก้าวหน้าไปอีกขั้นด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยโดยการจำลองสภาวะในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนให้ใกล้เคียงที่สุดกับสภาวะในครรภ์มารดา ตัวอ่อนจะไม่ถูกรบกวนในขณะที่มีการเจริญเติบโต ซึ่งคล้ายเคียงกับการเคลื่อนที่ของตัวอ่อนในท่อนำไข่ของมารดาก่อนที่ตัวอ่อนจะมีการฝังตัวในโพรงมดลูก

บริการพิเศษนี้ ! เฉพาะผู้เข้ารับบริการของจีเนีย โดยตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน (Geri) จะทำการถ่ายภาพตัวอ่อนในทุกๆ 5 นาที และสามารถถ่ายภาพตัดขวางได้มากสุดถึง 11 ชั้น  จากนั้นภาพที่ได้จะถูกจัดเรียงภาพเพื่อแชร์ภาพแบบไทม์แลปส์โดยละเอียดบนหน้าจอ นักวิทยาศาสตร์สามารถดูการเจริญเติบโตของตัวอ่อนโดยไม่ต้องนำตัวอ่อนออกมาดู เพื่อไม่ให้ตัวอ่อนสัมผัสกับสภาวะที่ไม่พึงประสงค์ เช่นการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ นอกจากนี้สารละลายที่ใช้เลี้ยงตัวอ่อนหรือที่เรียกว่าน้ำยาเพาะเลี้ยงตัวอ่อนนั้นได้มีการพัฒนาไปอีกขั้น ซึ่งสามารถใช้น้ำยาเพาะเลี้ยงตัวอ่อนนี้ได้ในทุกระยะของการเจริญเติบโตของตัวอ่อนโดยไม่ต้องทำการเปลี่ยนน้ำยา

 

ดร.เชอร์รี่ พัว ผู้ชำนาญการด้านภาวะการเจริญพันธุ์ของจีเนียกล่าวว่า “โดยทั่วไปคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก จะใช้ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนของผู้เข้ารับบริการหลายคนรวมอยู่ในตู้เดียวกัน และไม่มีระบบกล้อง Time Lapse ที่แยกกันสำหรับผู้เข้ารับบริการในแต่ละราย นั่นหมายความว่า นักวิทยาศาสตร์จะต้องเปิดตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนในทุกครั้งเพื่อทำการตรวจดูพัฒนาการของตัวอ่อนและ/หรือเมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำยาเพาะเลี้ยงตัวอ่อน” ดร.เชอร์รี่ พัว ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “การรบกวนสภาวะแวดล้อมในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอัตราการคลอดมีชีพ (Live Birth Rate)  และผลลัพธ์นี้เป็นข้อพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของจีเนีย ในการพัฒนาเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้นสำหรับผู้เข้ารับบริการที่คาดหวังในการมีบุตร”อีกต่อไป

Previous slide
Next slide

นอกจากนี้ยังมีผลการสำรวจที่เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นเพิ่มเติมว่าเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่มีความแตกต่างกันเป็นส่วนสำคัญในการประสบความสำเร็จ ดังที่ได้มีการเผยแพร่บนเว็บไซต์ YourIVFSuccess ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลใหม่ที่เปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ จากการสำรวจนี้พบว่าใน 6 คลินิกจากคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก 10 อันดับแรกในรัฐนิวเซาท์เวลส์ (NSW) และออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี  (ACT) เป็นคลินิกของจีเนียทั้งหมด

สิ่งสำคัญที่เราอยากประกาศให้ทราบคือ Genea ได้ทำการเผยแพร่วิดีโอที่บันทึกไว้ในตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน Geri และภาพเคลื่อนไหว Time Lapse ของตัวอ่อนในช่วง 6 วันที่มีพัฒนาการให้กับผู้เข้ารับบริการ ซึ่งเมื่อก่อนจุดเริ่มต้นของชีวิตน้อยๆนี้ ผู้เข้ารับบริการไม่สามารถเห็นได้ แต่ตอนนี้ผู้เข้ารับบริการจะสามารถเห็นพัฒนาการของตัวอ่อนได้อย่างเปิดเผยแล้ว ซึ่ง “ภาพเคลื่อนไหวถูกบันทึกไว้อย่างชัดเจน ไม่ค่อยมีผู้เข้ารับบริการที่ได้เห็นพัฒนาการของตัวอ่อน ซึ่งสิ่งนี้คือสิ่งที่พิเศษสำหรับผู้เข้ารับบริการที่เข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ที่อาจพลาดหลายสิ่งหลายอย่างไปมากมายเลยทีเดียว,” นายสตีเฟน แม็คอาร์เธอร์ ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ของจีเนีย ได้กล่าวไว้ นอกจากนี้นายสตีเฟนยังได้กล่าวอีกว่า ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน Geri ทำให้นักวิทยาศาสตร์ (Embryologists) สามารถเห็นถึงกระบวนการในการพัฒนาของตัวอ่อนที่ไม่เคยเห็นมาก่อน  “เราสามารถเห็นสารพันธุกรรมมารวมกัน การแบ่งเซลล์ที่รวดเร็วและการฟักของตัวอ่อนเพื่อพัฒนาเป็นรกในอนาคตที่พร้อมสำหรับการฝังตัว”

หากถามว่าน้ำยาเพาะเลี้ยงตัวอ่อนมีอะไรที่ช่วยในการเพิ่มอัตราการคลอดมีชีพ (Live Birth Rate), “มันเป็นการผสมผสานระหว่างกรดอะมิโนและเกลือที่ผ่านการวัดและชั่งน้ำหนักอย่างแม่นยำโดยนักวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างชำนาญ ซึ่งเป็นสูตรที่นำไปสู่ความสำเร็จอย่างแท้จริง”

* เมื่อเทียบกับเครื่องเพาะเลี้ยงตัวอ่อนแบบดั้งเดิม MINC และ น้ำยาเพาะเลี้ยงตัวอ่อน Gems แบบต่อเนื่อง การศึกษาทดลองดำเนินการในห้องปฏิบัติการของจีเนีย สาขาแคนเบอร์รา

วูลองกอง ลิเวอร์พูล นอร์ธเวส อาร์พีเอ และสาขาที่เคนท์ สตรีท ในช่วงปี 2558 – 2562

ระบบเครื่องเลี้ยงตัวอ่อนอัตโนมัติ (Geri) ถูกใช้ในคลินิกของจีเนียทั้งหมดในปี 2561

ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility และนำเสนอในการประชุม American Society of Reproductive Medicine (ASRM) congress ในปี 2563 ข้อมูลอ้างอิงอย่างเป็นทางการคือ:

 

Peura T, Murray A, Hesketh N, Dalati S, Bowman M, McArthur S (2020): Is the biggest impact on clinical IVF outcomes obtained by implementation of continuous media, time-lapse incubator or both? Fertil Steril 114 (3) Suppl., e129. DOI: https://doi.org/10.1016/j.fertnstert.2020.08.383